วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุคลสำคัญของไทย

บุคคลสำคัญของไทย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยเจริญสูงสุดและขยายอาณาเขตออก
ไปอย่างกว้างไกล ผลงานสำคัญของท่าน ืคอ ทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทยและมีการบันทึกลงในศิลาจารึก
อันถือว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของไทย และเป็นหลักฐานทางประวั ิตศาสตร์อันทรงคุณค่ายิ่ง จากการที่พระองค์
ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา วัฒนธรรมของสุโขทัยจึงมีิอทธิพลของศาสนาอยู่ในทุกแขนงและถ่ายทอดมาถึง
ปัจจุบัน สุโขทัยมีการติดต่อค้าขายและมีไมตรีด้วยดีกับจีนมาโดยตลอด มีการส่งช่างทำถ้วยชามมาแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมกัน ทำให้ชาวสุโขทัยมีการทำถ้วยชามกระเบื้องและเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออก

พระมหาธรรมราชาลิไท

ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาและทรง
แตกฉานในพระไตรปิฎกมาก ทรงนิพนธ์ “เตภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” ึซ่งเป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา
ภาษาไทยเล่มแรก นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามแบบอย่างของลังกาอีกด้วย

พระบรมไตรโลกนาถ

ทรงเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระปรีชาสามารถ
ท้ังการรบ การปกครอง การศาสนาท้ังพราหมณ์และพุทธ ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “มหาชาติคำหลวง”
(เวสสันดรชาดก) เป็นภาษาไทย

พระนารายณ์มหารราช

ในสมัยพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยามีการติดต่อ
ค้าขายกับชาวต่างชาติหลายชาติพระนารายณ์มหาราชทรงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงวัฒนธรรมไทย
ในด้านต่างๆ ทรงปรับปรุงกฎหมายและตรากฎระเบียบขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เช่น
แก้ไขระเบียบธรรมเนียมเข้าเฝ้า การแต่งกาย และทรงรับเอาความเจริญทางเทคโนโลยีและวิชาการต่างๆ
มาใช้ในไทย เช่น การใช้ปฏิทิน ดาราศาสตร

เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์

เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น
กาพย์เห ่เรือ ซึ่งได้รับคำนิยมว ่าเป็นกาพย์ที่ดีที่สุดและทรงมีผลงานวรรณกรรมด้านศาสนา คือ
นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์เป็นชาวกรีกเดิมชื่อ คอนสะเแตนติน
ฟอลคอน เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยพระนารายณ์มหาราช จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น
เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ท่านมีคุณงามความดีและมีบทบาททางการค้าระหว่างไทยกับฝร่ังเศส

ออกญาเสนภิมุข หรือยามาดา นางามาสา

ความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่นปรากฏ
หลักฐานอย่างเป็นทางการในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีชาวญี่ปุ่นที่ได้รับราชการมีความดีความชอบ
และได้รับการยกย่องได้แก่ ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดา นางามาสา มีตำแหน่ง เป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น
รับราชการต้ังแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความซื่อสัตยสุจริตได้มีบทบาทสำคัญในการคลี่คลาย
สถานการณ์วุ่นวายเนื่องจากปัญหาในการสืบราชสมบั ิต หลังการสิ้นพระชนน์ของพระเจ้าทรงธรรมหลายครั้ง

เฉกอะหมัด คูมี

ได้รับการแต่งต้ังจากพระเจ้าทรงธรรม ให้เป็นพระยาเฉกอะหมัด
รัตนราชเศรษฐ์ว่าที่เข้ากรมท่าขวาและจุฬาราชมนตรีท่านมีบทบาททางการเมืองของชาวมุสลิมต่อกรุงศรีอยุธยา
นับว่าเป็นปฐมจุฬาราชมนตรีของอิสลามในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช (รัชกาลที่ 1)

ทรงโปรดให้ย้าย
ราชธานีจากกรุงธนบุ ีรมาสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ทรงสร้าง
พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปโบราณ
ที่ถูกทอดทิ้งให้ชำรุดตามหัวเมืองต่างๆ มีการสังคายนาพระไตรปิฎกคร้ังที่ 11 ในด้านศิลปะทรงรวบรวม
ช่างไทยสิบหมู่ที่ ืสบทอดความรู้มาต้ังแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้านวรรณกรรมน้ันทรงโปรดให้ ินพนธ์วรรณกรรมเรื่อง
รามเกียรติส่วนทางด้านเนติธรรมทรงโปรดให้ชำระกฎหมายที่ใ่ช้มาต้ังแต่อยุธยาให้มีความเที่ยงธรรมและ
ครอบคลุมมากขึ้นเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

ในสมัยรัชกาลที่ 2
บ้านเมืองเริ่มสงบจากภัยข้าศึก ความเจริญทางวัฒนธรรมจึงมีความโดดเด่นและมีมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะ
ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เป็นอย่างสูง ทรงนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง
ิอเหนา สังข์ทอง ไกรทอง กาพย์เห่เรือ เสภาขุนช้างขุนแผน ฯลฯ

สุนทรภู่

ในสมัยรัชกาลที่ 2 ิศลปินที่มีืช่อเสียงทางการประพันธ์อย่างมากที่สุดของไทย
ืถอว่าเป็นกวีของประชาชน ืคอ สุนทรภู่ ท่านมีผลงานทางวรรณกรรมหลายประเภท ืคอ ิ นราศ บทละคร เสภา
กลอน กาพย์บทประพันธ์ที่มีืช่อเสียงเป็นที่ ู ร้จักกันดี ืคอ วรรณคดีเรื่อง “พระอภัยมณี”

พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับเอา
วัฒนธรรมจีนมาดัดแปลงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยเป็นอันมาก โดยเฉพาะงานการสร้างศิลปวัตถุและ
วัดวาอาราม เนื่องจากทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รัชสมัยของพระองค์ ึจงมีการสร้างและทำนุบำรุงวัดใน
พุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก งานศิลปกรรมวัฒนธรรมมุ่งสร้างเพื่อถวายแด่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรง
สนับสนุนให้นักปราชญ์จารึกวรรณคดีตำรา ความรู้ที่สำคัญๆ ไว้บนแผ่นศิลาติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ
และรอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและรักษาวิชาการเหล่าน้ันไว้
ไม่ให้สูญหายไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายเปิดประเทศและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย
ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ตระหนักถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทรงได้รับการยกย่องให้เป็น
“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

เซอร์ จอห์น เบาริง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ทำ
สนธิสัญญาเบาริงกับประเทศอังกฤษโดยหัวหน้าคณะทูตที่มาเจรจา ืคอ เซอร์จอห์น เบาริง ึซ่งสนธิสัญญาฉบับนี้
เป็นต้นแบบในการทำสัญญากับชาติตะวันตกอื่น แม้ผลของสนธิสัญญาเบาริงจะมีผลกระทบทางด้านการเมือง
เพราะชาวต่างชาติที่มาติดต่อกับไทยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายไทยก็ตาม แต่ก็ทำให้ระบบเศรษฐกิจ
ไทยเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมในเรื่อง
การยกเลิกการเกณฑ์ไพร่และแรงงานในเวลาต่อมา เซอร์จอห์น เบาริง ยังได้มีบทบาทเป็นผู้สำเร็จราชการดูแล
กงสุลไทยในยุโรป และเป็นราชทูตแห่งสยามไปเจริญสนธิสัญญาการค้ากับประเทศนอร์เวย์สวีเดน และเบลเยี่ยม

หมอบรัดเลย์

หมอบรัดเลย์เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่มีบทบาทสำคัญต่อ
ประวั ิตศาสตร์ไทย ืคอท่านได้ส่ังแท่นพิมพ์ภาษาไทยเข้ามาต้ังโรงพิมพ์แห่งแรก ทำให้ ิกจการหนังสือพิพม์เกิดขึ้น
ในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทยคือ บางกอกรีคอร์เดอร์เป็นของชาวต่างประเทศ ส่วนวารสาร
ฉบับแรกของไทยออกโดยทางราชการไทยได้แก่ราชกิจจานุเบกษาความก้าวหน้าทางการพิมพ์ทำให้ ีมการเผยแพร่
ประวั ิต ตำนาน ขนบธรรมเนียม ความรู้และศาสนา ระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติก่อให้เกิดความเข้าใจ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของกันและกัน ช่วยให้การติดต่อระหว่างกันสะดวกสบายขึ้นเป็นอันมาก
นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ได้ ิ เร่มเป็นผู้วางรากฐานวิชาการแพทย์สมัยใหม่ในประเทศไทย
โดยได้ ิ เร่มเป็นผู้ทำการผ่าตัดคร้ังแรกในเมืองไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ทรงได้รับการยกย่องเป็น
พระปิยะมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถสุขุมคัมภีร์ภาพจนรอดพ้นจากลัทธิล่าอาณานิคม
ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับตะวันตก ทรงมีพระราชดำริให้เลิกทาส
เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มีความเสมอภาคในสังคมไทย นอกจากนี้ยังทรงปรับปรุง
การคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา จนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศไทยมาจนทุกวัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติกำลังรุกล้ำหนักจงทรงปรับปรุงและปลูกฝังวัฒนธรรมไทยให้คนไทยรักชาติ มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อชาติและนิยมไทยมากขึ้น ทรงต้ังกองเสือป่าเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่อุดมการณ์ชาติ ินยมในหมู่สมาชิก

1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรง เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้รับเกียรติจากยูเนสโกประกาศยกย่องให้
เป็นบุคคล สำคัญของโลก เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2505
2.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ทรงได้รับการยกย่อง เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่
28 เมษายน 2506
3. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรง ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวรรณกรรม
เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511
4. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชโอรสใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ
ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า” ยูเนสโกยกย่อง
ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราช
สมภพครบ 100 พรรษาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524
5.สุนทรภู่ กวีเอกครั้งรัชกาลที่ 2
ยู เนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม
เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529
นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รั
บเกียรตินี้
6. ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ) นักปราชญ์
และนักวัฒนธรรมสำคัญของไทย
ยู เนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้าน
วั
ฒนธรรมระดับโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ ชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่
14 ธันวาคม 2531
7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ทรง เป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายพระเกียรติจากยูเนสโก ประกาศ
ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลอง
วันประสูติครบ 200 ปีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2533

8. พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
เป็น คนไทยที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก
เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2534
9.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทรง ได้รับการถวายพระสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” เมื่อปี 2535
ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาลและการสาธารณสุข เนื่องในวาระ
ฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535
10.เมื่อปี 2539 เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง
สิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ยูเนสโกได้ประกาศ ยกย่องและร่วมฉลองในวาระมงคลดังกล่าวเมื่อวันที่
9 มิถุนายน 2539
11.สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทรง ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม
เนื่องในวาระฉลองวั
นพระราชสมภพครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่
21 ตุลาคม 2543
12.ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ยู เนสโกประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ
และประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่
11 พฤษภาคม 2543
13.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระปิยมหาราช” ทรงได้รับการยกย่อง
เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
การพัฒนาสังคม เนื่องในโอกาสฉลองวั
นพระราชสมภพครบ 150 พรรษา
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546
14. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร
เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2546
15.พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยน
ทราบรมราชินี
ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ทรง
ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสื
่อสารมวลชน
เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ 200 พรรษา ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547
16.นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกาว่า “ศรีบูรพา” นักเขียน
นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์มีชื่อของไทย
ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านนักเขียนและนัก
หนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549
17.ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา
วัฒนธรรม และสันติภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่
27 พฤษภาคม 2549
18.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
ทรง เป็นคนไทยที่ได้รับการยกย่องจากยุเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของ
โลกด้าน วรรณกรรม การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการต่าง
ประเทศ เนื่องในวาระฉลอง 200 ปีวันคล้ายวันประสูติ เมื่อวันที่
9 กรกฎาคม 2551
19.นายเอื้อ สุนทรสนาน
ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรม ดนตรี
ไทยสากล เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่
21 มกราคม 2553
20.พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา
วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบ
ชาตกาล 100 ปี ในวันที่ 20 เมษายน 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่
20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่
ประเทศไทยอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่